:: เมืองนวัตกรรม   / วันที่ 10 เมษายน 2556
                                                                                                                                                                                                              พิมพ์หน้านี้
 

   

สิงคโปร์กำหนดมาตรฐานสำหรับเมืองที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในเอเชีย แต่หลายสัญญาณบวกกำลังเกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค

ความเป็นเมืองและมหานครคือคำที่มักจะได้ยินบ่อยๆในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียซ่งเศรษฐกิจกำลังเฟื่องฟู เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มากกว่าครึ่งของประชากรโลกอาศัยอยู่ในเมือง
จาก UN World Urbanisation Prospects ภายในปี ค.ศ.2050 ประชากรเมืองจะมีมากถึง 70% ของประชากรโลก เฉพาะแค่ในเอเชีย เมืองต่างๆในจีนและอินเดียอาจจะเป็นที่อยู่อาศัยของพันนับพันล้านคน

รัฐบาลในประเทศต่างๆทุ่มเงินเป็นจำนวนหลายหมื่นล้านดอลลาร์เพื่อสร้างเมืองใหม่ แต่ประเด็นสำคัญคือ “เราจะสร้างออกมาอย่างไร?”

การสร้างเมืองใหม่อย่างยั่งยืนนั้นเป็นเรื่องยากกว่าที่คิดเนื่องจากการสร้างเมืองใหม่ให้มีความยั่งยืนจำเป็นต้องมีการออกแบบผังเมืองและการวางแผนเมืองที่ดี ไม่ใช่ว่าแค่สร้างตึกสูงๆแล้วเพิ่มพื้นที่สีเขียวเข้าไปแล้วจะเรียกสิ่งที่สร้างมาว่าเมืองได้ ตรงนี้เองที่แนวคิดเรื่องนวัตกรรมเข้ามามีบทบาท

เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ 6 ข้อ ได้แก่ ความสามารถของคน, การสร้างความรู้, เทคโนโลยี, สังคม, รัฐบาล, และโลกาภิวัฒน์ แล้วจะพบว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียในทำให้สิงคโปร์เป็นเมืองที่มีความเป็นนวัตกรรมมากที่สุดในภูมิภาค ส่วนอันดับ 2, 3, 4, และ 5 ได้แก่ ซิดนีย์, เมล์เบิร์น, ฮ่องกง, และโอคแลนด์ตามลำดับ ส่วนกรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทยนั้นได้อันดับที่ 12 ของเมืองที่มีความเป็นนวัตกรรมที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

สิ่งสำคัญของเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตคือการมีแผนที่มั่นคงในการพัฒนาเมืองต่อไปในอนาคต เมืองจำเป็นต้องมีความเป็นนวัตกรรมและไม่เติบโตเร็วเกินไปเนื่องจากความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมจะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในระยะยาว เมืองที่มีระบบนิเวศน์วิทยาซึ่งส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจะสามารถรองรับการชะลอตัวและส่งเสริมให้เกิดความเติบโตได้มากกว่า นอกจากนี้เมืองที่มีความเป็นนวัตกรรมยังมีแนวโน้มที่จะเป็นแถวหน้าในเรื่องต่างๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ, เทคโนโลยีชั้นสูงและเทคโนโลยีสีเขียว, การวางผังเมือง, การศึกษา, การสื่อสารแบบไร้สาย, และความบันเทิง เป็นต้น

นักวางผังเมืองทั้งหลายจำเป็นต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเมืองที่มีศักยภาพในการเป็นเมืองนวัตกรรมนั้นจะกลายเป็นเมืองที่สร้างงานที่ดีที่สุด, ดึงดูดบริษัทที่ดีที่สุด, รักษาคสที่มีความสามารถเอาไว้ได้และดึงดูดการวิจัยและการพัฒนา หากมีการวางผังเมืองที่เหมาะสม เมืองเหล่านี้จะสร้างความเติบโตให้กับทั้งประเทศเลยทีเดียว

ที่มา: บางกอกโพสต์
25 มีนาคม 2556
http://www.bangkokpost.com/business/tourism/342249/the-innovation-edge

 





www.ipsr.mahidol.ac.th - Revised: 28 สิงหาคม 2552
Copyright ©สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
73170  โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333 Web master : prwww@mahidol.ac.th